ขั้นตอนสมัครประกันสังคมออนไลน์มาตรา 33,39,40

วิธีสมัครประกันสังคมออนไลน์สามารถทำได้ไม่ยากเพียงแค่ทำตามบทความของเพื่อนแท้เงินด่วน คุณก็จะสามารถตรวจสอบสิทธิต่างๆได้ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการรักษาพยาบาล ข้อมูลของเงินสมทบ และคุณยังสามารถเปลี่ยนสถานพยาบาลได้เองทุกๆปี

สมัครประกันสังคมออนไลน์

วิธีการสมัครสมาชิกประกันสังคมออนไลน์ ผ่าน www.sso.go.th

  1. สมัครประกันสังคมออนไลน์ เข้าไปที่เว็บไซต์ https://www.sso.go.th/wpr/main จากนั้นให้คลิกเข้าสู่ระบบผู้ประกันตนเพื่อสมัครยื่นประกันสังคมออนไลน์ที่มุมบนด้านขวา
  2. คลิกที่แถบสีน้ำเงินด้านล่างที่คำว่าสมัครสมาชิก
  3. กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ซึ่งต้องได้กรอกทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่
    1. อ่านนโยบายการคุ้มครองสิทธิ์ข้อมูลส่วนตัวของเรา จากนั้นให้คลิก √ ที่ปุ่มเล็กๆด้านล่าง ตรงคำว่าฉันยอมรับข้อตกลงในการบริการ
    2. กรอกข้อมูลส่วนตัวให้ถูกต้องชัดเจน ได้แก่ เลขบัตรประจำตัวประชาชน เบอร์โทรศัพท์ ตั้งรหัสผ่าน(โดยจะต้องมีความยาวอย่างน้อย 6 ตัวอักษร มีอักษร a-z , A-Z และ 0-9) ชื่อ-สกุล วันเดือน ปี เกิด อีเมล และคลิกถัดไป
    3. ขั้นตอนการยืนยันตัวตน โดยระบบประกันสังคมออนไลน์จะให้คุณกรอกรหัส OTP ที่ได้รับทาง SMS ที่ส่งไปยังเบอร์โทรศัพท์ที่เรากรอกในข้อ 3.2 ก็จะถือว่าสมัครสมาชิกสำเร็จแล้ว

สมัครประกันสังคมออนไลน์มาตรา 33

ผู้ที่จะสมัครประกันสังคมมาตรา 33 ออนไลน์ กลุ่มนี้ก็คือพนักงานบริษัทเอกชนทั่วไป

คุณสมบัติของผู้ประกันตน​

มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปี

การส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน​

ลูกจ้างร้อยละ 5 % + นายจ้าง 5 % + รัฐบาล 2.75 % ของฐานเงินเดือนที่คุณได้รับขั้นต่ำ ตั้งแต่ 1,650 บาท แต่ไม่เกิน 15,000 บาท

สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ​

สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ คือ ความคุ้มครองกรณีที่เจ็บป่วย อุบัติเหตุ ทุพพลภาพ เสียชีวิต คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และกรณีที่ลงทะเบียนว่างงาน

ช่องทางการสมัครเป็นผู้ประกันสังคมมาตรา 33​

สำหรับผู้ประกันตนในมาตรา 33 นี้ นายจ้างจะเป็นผู้ดำเนินการสมัครประกันสังคมออนไลน์ให้กับเราเอง

สมัครประกันสังคมออนไลน์มาตรา 39

ผู้ที่จะสมัครประกันสังคมมาตรา 39 ออนไลน์ มีข้อมูลที่ควรรู้ดังนี้

คุณสมบัติของผู้ประกันตน​

ผู้ที่จะสมัครประกันสังคมออนไลน์มาตรา39 กลุ่มนี้คือคนที่เคยทำงานบริษัทเอกชนมาก่อนและได้ลาออกแต่ต้องการรักษาสิทธิของประกันสังคมไว้ จึงสมัครใช้สิทธิประกันสังคมในมาตรา 39 แทน

การส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน​

ต้องเป็นผู้ที่ประกันสังคมในมาตรา 33 มาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ปี และลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน ไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ และจะต้องส่งเงินเข้ากองทุน 432 บาท/เดือน โดยรัฐจะช่วยสมทบอีก 120 บาท/เดือน

สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ​

สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ คือ กรณีที่เจ็บป่วย อุบัติเหตุ ทุพพลลภาพ เสียชีวิต คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ

ช่องทางการสมัครเป็นผู้ประกันสังคมมาตรา 39​

ช่องทางการสมัครประกันสังคมออนไลน์สามารถยื่นแบบคำขอ (แบบ 1-20) ได้ด้วยตัวเองภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ออกจากงาน โดยสามารถยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ ส่วนภูมิภาค ประกันสังคมจังหวัด และสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขา

สมัครประกันสังคมออนไลน์มาตรา 40

ผู้ที่จะสมัครประกันสังคมมาตรา 40 ออนไลน์ มีข้อมูลที่ควรรู้ดังนี้

คุณสมบัติของผู้ประกันตน

ผู้สมัครประกันตนเอง มาตรา 40 กลุ่มนี้ คือ บุคคลที่ไม่ได้เป็นลูกจ้างของบริษัทเอกชนในมาตรา 33 และ 39 จึงจะสามารถสมัครใช้สิทธิประกันสังคมออนไลน์ในมาตรา 40 นี้ได้ จะต้องประกอบอาชีพอิสระ มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และไม่เกิน 60 ปี

การส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน​

  1. แบบคุ้มครอง 3 กรณี คือ จ่ายเดือนละ 100 บาท/เดือน โดยที่เราจ่ายเอง 70 บาท และรัฐบาลสมทบให้ 30 บาท
  2. แบบคุ้มครอง 4 กรณี คือ จ่ายเดือนละ 150 บาท/เดือน โดยที่เราจ่ายเอง 100 บาท และรัฐบาลสมทบให้ 50 บาท

สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ​

  1. คุ้มครอง 3 กรณี จะได้รับความคุ้มครอง คือ กรณีที่เจ็บป่วย ทุพพลภลพ และเสียชีวิต
  2. คุ้มครอง 4 กรณี จะได้รับความคุ้มครอง คือ กรณีที่เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต และกรณีชราภาพ

ช่องทางการสมัครเป็นผู้ประกันสังคมมาตรา 40​

  1. เข้าสู่เว็บไซต์ของประกันสังคม คลิก https://www.sso.go.th/wpr/
  2. เลือกแถบเมนู ลงทะเบียนผู้ประกันตนตามมาตรา 40
  3. กรอกข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลในการสมัครประกันสังคมออนไลน์ให้ครบถ้วน จากนั้นระบบจะแจ้งผลการยืนยันผ่าน SMS
  4. ชำระเงินโดยสามารถชำระได้ทางเคาน์เตอร์เซอร์วิสในร้านสะดวกซื้อ เคาน์เตอร์ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และตู้เติมเงินออนไลน์ หากชำระเงินเสร็จแล้วจึงจะถือว่าการสมัครเสร็จสิ้น

'ประกันสังคม' มาตรา 33 39 และ 40 ต่างกันอย่างไร

หลายคนที่ทำงานและต้องส่งประกันสังคมออนไลน์ แต่ก็ยังไม่รู้ว่าสิทธิของประกันสังคมแต่ละมาตรานั้นแตกต่างกันอย่างไร วันนี้เรามีคำตอบ และประกันสังคมนั้นแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ครับ

ขั้นตอนเช็คสิทธิประกันสังคมออนไลน์

ประกันสังคมออนไลน์ คือ ประเภทของประกันชีวิตที่มีผลบังคับใช้ในระบบประกันสังคมในประเทศไทย โดยมีเจ้าหน้าที่ของการประกันสังคมเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่จัดการประกันสังคมของประชาชน ประกันสังคมออนไลน์ จะมีผลบังคับใช้เมื่อมีการสมัครเข้ารับประกันภัยจากหน่วยงานของการประกันสังคม โดยมีการเก็บเงินค่าประกันภัยจากผู้มีสิทธิ์ประกันภัย ซึ่งจะนำมาสร้างสภาพความมั่นคงของประชาชนทั่วประเทศ โดยสามารถตรวจสอบสิทธิ์ผู้ประกันตนได้ดังนี้

  1. เข้าสู่เว็บไซต์ คลิก https://www.sso.go.th/wpr/main/login และกดสมัครสมาชิก (หากใครที่เป็นสมาชิกอยู่แล้วกดล็อคอินได้เลย และข้ามไปข้อที่ 5)
  2. กดยอมรับข้อตกลงในการให้บริการประกันสังคมออนไลน์ จากนั้นให้กดถัดไป
  3. กรอกข้อมูลส่วนตัวครบ เบอร์ไทรศัพท์ และตั้งรหัสผ่าน
  4. กดยืนยันตัวตน โดยการกดปุ่มสีเขียวเพื่อขอรหัส OTP จากนั้นให้กรอกรหัส OTP ที่ได้รับจาก SMS เพื่อกดยืนยัน
  5. เข้าสู่ระบบเช็คประกันสังคม โดยกรอกเลขบัตรประชาชน 13 หลัก และกรอกรหัสผ่านที่ตั้งไว้ จากนั้นกดเลือกผู้ประกันตนด้านล่างสีเหลืองตรงคำว่า SSO E-SERVICE
  6. คุณสามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากขั้นตอนนี้ ไม่ว่าจะเป็นการเช็คสิทธิประกันว่าอยู่ที่โรงพยาบาลไหน สถานะของสิทธิ เป็นต้น
  7. ในขณะเดียวกัน ก็สามารถเช็คยอดประกันสังคมได้ เช่น เงินสมทบ ประวัติการเปลี่ยนโรงพยาบาล ข้อมูลการใช้สิทธิประโยชน์ทดแทน และดูใบเสร็จรับเงินได้
  8. สำหรับผู้ที่ต้องการเช็คเงินชดเชยประกันสังคม ให้กดที่คำว่าการใช้สิทธิประโยชน์ทดแทน จะมีรายการแสดงรายการจ่ายเงินทั้งหมด

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับประกันสังคมออนไลน์

ต่อไปนี้เป็นคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ การสมัครประกันสังคม

ใครมีสิทธิ์ทำประกันสังคมได้บ้าง?

ในประเทศไทย สิทธิ์ประกันสังคมขึ้นอยู่กับสถานะการจ้างงาน พนักงานที่ทำงานในภาคเอกชนและมีรายได้ต่อเดือนไม่เกิน 15,000 บาท มีสิทธิ์ประกันสังคม เช่นเดียวกับผู้ประกอบอาชีพอิสระที่มีรายได้ไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน ชาวต่างชาติที่ทำงานในประเทศไทยอาจมีสิทธิได้รับประกันสังคมเช่นกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานะการจ้างงานและเงินเดือน

ฉันจะสมัครประกันสังคมได้อย่างไร ?​

ในการลงทะเบียนประกันสังคมในฐานะบุคคลที่ประกอบอาชีพอิสระหรือชาวต่างชาติ คุณจะต้องไปที่สำนักงานประกันสังคมด้วยตนเองและนำเอกสารต่อไปนี้มาด้วย:

  1. บัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทาง
  2. เอกสารทะเบียนบ้าน
  3. หนังสือรับรองการทำงาน (สำหรับชาวต่างชาติ)
  4. รายละเอียดบัญชีธนาคาร

ประกันสังคมมีค่าใช้จ่ายเท่าไร?

  • ค่าประกันสังคมในประเทศไทยขึ้นอยู่กับเงินเดือน และสถานะการจ้างงานของคุณ สำหรับลูกจ้าง อัตราเงินสมทบคือ 5% ของเงินเดือน โดยนายจ้างจ่ายเพิ่มอีก 5% สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ อัตราเงินสมทบคือ 7.5% ของรายได้ต่อเดือนของคุณ
  • ตัวอย่างเช่น หากคุณเป็นพนักงานที่มีรายได้เดือนละ 15,000 บาท เงินสมทบประกันสังคมของคุณจะเท่ากับ 750 บาทต่อเดือน (5% ของ 15,000 บาท) นายจ้างของคุณจะสมทบ 750 บาทต่อเดือนด้วย

แผนประกันสังคมมีหลายประเภทหรือไม่?

  • ใช่ มีแผนประกันสังคมหลายประเภทในประเทศไทย ประเภทของแผนที่คุณมีสิทธิ์ได้รับจะขึ้นอยู่กับสถานะการจ้างงานและระดับรายได้ของคุณ
  • สำหรับพนักงาน มีแผนประกันสังคม 2 ประเภท ได้แก่ “แผนปกติ” และ “แผนพิเศษ” แผนปกติสำหรับพนักงานที่มีรายได้ต่อเดือนไม่เกิน 15,000 บาท ในขณะที่แผนพิเศษสำหรับพนักงานที่มีรายได้มากกว่า 15,000 บาทต่อเดือน ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างแผนทั้งสองคือระดับของผลประโยชน์และความคุ้มครองที่มีให้
  • ผู้ประกอบอาชีพอิสระและชาวต่างชาติที่ทำงานในประเทศไทยมีสิทธิ์ได้รับเฉพาะแผนปกติเท่านั้น

ประกันสังคมคุ้มครองสิทธิประโยชน์ประเภทใดบ้าง?​

  • ค่ารักษาพยาบาลและค่ารักษาพยาบาล
  • สิทธิประโยชน์สำหรับผู้พิการ
  • ผลประโยชน์การคลอดบุตร
  • ผลประโยชน์การเสียชีวิต
  • เงินชดเชยการว่างงาน

ฉันสามารถลงทะเบียนประกันสังคมได้หรือไม่หากฉันประกอบอาชีพอิสระ?​

ใช่ ผู้ประกอบอาชีพอิสระมีสิทธิ์สมัครประกันสังคมในประเทศไทย ในการลงทะเบียน คุณจะต้องไปที่สำนักงานประกันสังคมด้วยตนเองและนำเอกสารดังต่อไปนี้:

  • บัตรประจำตัวประชาชนหรือหนังสือเดินทาง
  • เอกสารทะเบียนบ้าน
  • รายละเอียดบัญชีธนาคาร

จำเป็นต้องลงทะเบียนประกันสังคมหรือไม่?

  • ในประเทศไทย การลงทะเบียนประกันสังคมเป็นข้อบังคับสำหรับพนักงานที่มีเงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน หากคุณเป็นลูกจ้างในกลุ่มรายได้นี้ นายจ้างของคุณจะต้องลงทะเบียนคุณในประกันสังคมและจ่ายเงินสมทบตามที่กำหนดในนามของคุณ
  • สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระและชาวต่างชาติที่ทำงานในประเทศไทย การลงทะเบียนประกันสังคมเป็นไปโดยสมัครใจ อย่างไรก็ตาม ขอแนะนำให้ลงทะเบียนประกันสังคมหากคุณมีสิทธิ์ เนื่องจากสามารถให้ความคุ้มครองทางการเงินที่สำคัญในกรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต

ฉันสามารถลงทะเบียนประกันสังคมได้หรือไม่หากฉันเป็นชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย?

ใช่ ชาวต่างชาติที่ทำงานในประเทศไทยอาจมีสิทธิ์ลงทะเบียนในประกันสังคม ขึ้นอยู่กับสถานะการจ้างงานและเงินเดือนของพวกเขา

ยกเลิกการสมัครประกันสังคมได้หรือไม่?

เป็นไปได้ที่จะยกเลิกการสมัครประกันสังคมในประเทศไทยภายใต้สถานการณ์บางอย่าง อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องทราบว่าเมื่อคุณยกเลิกการลงทะเบียนแล้ว คุณจะไม่สามารถลงทะเบียนใหม่ในประกันสังคมได้เว้นแต่คุณจะปฏิบัติตามเงื่อนไขบางประการ

สรุป -  สมัครประกันสังคมออนไลน์

การสมัครประกันสังคมออนไลน์ คือ รูปแบบประกันที่ให้ความคุ้มครองทางการเงินแก่บุคคลและครอบครัวในกรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต ในประเทศไทยสิทธิ์ประกันสังคมขึ้นอยู่กับสถานะการจ้างงาน และค่าประกันขึ้นอยู่กับเงินเดือนและสถานะการจ้างงานของคุณ 

มีแผนประกันสังคมสองประเภทสำหรับพนักงาน: แผนปกติและแผนพิเศษ โดยความแตกต่างที่สำคัญ คือ ระดับของผลประโยชน์และความคุ้มครองที่มีให้ ผู้ประกอบอาชีพอิสระและชาวต่างชาติที่ทำงานในประเทศไทยมีสิทธิ์ได้รับเฉพาะแผนปกติเท่านั้น ผลประโยชน์ทั่วไปบางประการที่ประกันสังคมครอบคลุม ได้แก่ การรักษาพยาบาล ผลประโยชน์ทุพพลภาพ ผลประโยชน์กรณีคลอดบุตร ผลประโยชน์กรณีเสียชีวิต และผลประโยชน์กรณีว่างงาน 

การลงทะเบียนประกันสังคมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพนักงานที่มีรายได้เดือนละ 15,000 บาทหรือน้อยกว่า แต่เป็นความสมัครใจของผู้ประกอบอาชีพอิสระและชาวต่างชาติ เป็นไปได้ที่จะยกเลิกการลงทะเบียนประกันสังคมของคุณภายใต้สถานการณ์บางอย่าง แต่สิ่งสำคัญคือต้องพิจารณาผลที่ตามมาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจ

เพื่อนแท้ เงินด่วน

บทความยอดนิยม