ทำความเข้าใจพ.ร.บ.รถยนต์ และความคุ้มครองที่คุณจะได้รับ

พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไร, พ.ร.บ.รถยนต์ คุ้มครอง, วิธีเคลม พ.ร.บ. รถยนต์

หากคุณมีรถยนต์เป็นของตัวเอง คุณควรต่อ พ.ร.บ. รถยนต์เอาไว้ด้วย เพราะถือเป็นการทำประกันให้กับรถของเรานั่นเอง นอกเหนือจากนั้นยังคุ้มครองทั้งตัวผู้บาดเจ็บและคู่กรณีหากมีเหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้น คุณก็จะไม่ต้องเสียเวลาและไม่ต้องเสียเงินเกินความจำเป็นนั่นเอง

พ.ร.บ. รถยนต์

พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไร

พ.ร.บ.รถยนต์ คือ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ที่คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ถือเป็นกฎหมายที่มีการกำหนดให้รถยนต์ทุกคันจดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบก หรือการทำประกันภัยรถยนต์นั่นเอง เพื่อให้คุ้มครองกับผู้ที่ประสบอุบัติเหตุจากการใช้รถ แม้ว่าจะเป็นฝ่ายผิดหรือถูกก็จะได้รับความคุ้มครองเหมือนกัน

พ.ร.บ.รถยนต์ ราคา​

  1. รถส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง ราคา 600 บาท
  2. รถส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 15 ที่นั่ง ราคา 1,100 บาท
  3. รถส่วนบุคคลเกิน 15 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 20 ที่นั่ง ราคา 2,050 บาท
  4. รถส่วนบุคคลเกิน 20 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 40 ที่นั่ง ราคา 3,200 บาท
  5. รถส่วนบุคคลเกิน 40 ที่นั่ง ราคา 3,740 บาท

หากไม่ทำ พ.ร.บ. มีผลอย่างไร​

การทำประกันภัยพ.ร.บ.รถยนต์ คือ การทำประกันภัยภาคบังคับ ใครที่มีรถเป็นของตัวเองจำต้องทำ หากฝ่าฝืนไม่ทำ กฎหมาย พรบ รถยนต์ก็จะมีโทษทางกฎหมาย ปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท ซึ่งจะส่งผลให้ไม่สามารถเสียภาษีรถได้ ป้ายทะเบียนรถคันนั้นก็จะขาดอายุ และจะทำให้ยุ่งยากต่อการทำใหม่

ควรติดป้าย พ.ร.บ.รถยนต์ หรือไม่​

  • โดยปกติทั่วไปเราจะไม่ติดพ.ร.บ. รถยนต์ไว้ที่รถ แต่จะต้องติดป้ายภาษีหรือที่เรารู้จักกันว่าป้ายวงกลม ติดไว้ที่หน้ารถ ป้ายภาษีถือเป็นเอกสาารที่ออกให้โดยกรมขนส่งทางบกซึ่งจะได้ก็ต่อเมื่อคุณได้ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์แล้วเท่านั้น แต่ถ้าหากคุณไม่ติดป้ายภาษีจะถือว่ามีความผิดและจะมีโทษปรับ
  • ควรติดป้ายภาษีประจำปีไว้ที่ด้านในของกระจกกันลมด้านหน้ารถยนต์หรือให้ติดในตำแหน่งที่สามารถมองเห็นป้ายภาษีประจำปีได้ชัดเจน หากผู้ใดไม่ต่อภาษีพ.ร.บ. รถยนต์ประจำปี จะมีโทษปรับไม่ต่ำกว่า 200 บาท แต่ไม่เกิน 2,000 บาท

หากรถหาย พ.ร.บ.จะคุ้มครองหรือไม่​

ประกันของพ.ร.บ.รถยนต์จะไม่คุ้มครองกรณีที่รถยนต์สูญหาย แต่คุ้มครองความเสียหายต่อบุคคลที่ประสบเหตุรวมถึงคู่กรณีด้วย หากคุณอยากได้รับความคุ้มครองกรณีรถหายจะต้องซื้อประกันภาคสมัครใจ เช่น ประกันชั้น 1 หรือ ประกันชั้น 2+ เป็นต้น

พ.ร.บ.รถยนต์ ต่อที่ไหนได้บ้าง​

  • ผู้เอาประกันสามารถต่อ พ ร บ รถยนต์ กับตัวแทนขายพ.ร.บ. รถยนต์ได้กับบริษัทเอกชนต่างๆ เพื่อนำไปต่อภาษีรถยนต์ประจำปี ซึ่งหากต่อพ.ร.บ.เรียบร้อยแล้วเข้าไปติดต่อที่กรมขนส่งทางบกใกล้บ้านท่าน เพื่อยื่นต่อภาษี ซึ่งเอกสารที่ควรเตรียมให้พร้อมมีดังนี้
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
    • สำเนาทะเบียนบ้าน
    • สำเนาทะเบียนรถ หรือเล่มทะเบียนรถฉบับจริง

พ.ร.บ.รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง

หากคุณทำ พ.ร.บ. รถยนต์แล้วก็ไม่ต้องกังวลใจหากมีเหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้น เพราะ พ.ร.บ.รถยนต์ มีความคุ้มครองหลายกรณี ดังนี้

1. ค่าเสียหายเบื้องต้น​

  • ค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จ่ายตามจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท/คน
  • กรณีสูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิต จะได้รับเงินจาดพ.ร.บ. รถยนต์ ไม่เกิน 35,000 บาท/คน
  • กรณีที่ได้รับบาดเจ็บ และต่อมาสูญเสียอวัยวะ จะได้รับเงินจากไม่เกิน 65,000 บาท/คน
  • กรณีเสียชีวิตหลังจากเข้ารักษาพยาบาล จะได้รับไม่เกิน 65,000 บาท/คน

2. ค่าเสียหายส่วนเกิน​

  • ค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอื่นๆ สามารถเรียกร้องได้ไม่เกิน 80,000 บาท/คน
  • กรณีสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพอย่างถาวร จะได้รับ 200,000-500,000 บาท/คน
  • กรณีเสียชีวิต จะได้รับเงินจากพ.ร.บ. รถยนต์ 500,000 บาท/คน
  • กรณีที่เข้ารับการรักษาในฐานะผู้ป่วยใน จะได้รับค่าชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท แต่ไม่เกิน 20 วัน

วิธีเคลม พ.ร.บ. รถยนต์

หากมีความเสียหายเกิดขึ้นและคุณต้องการเคลมค่าเสียหายจากพ.ร.บ. รถยนต์ก็สามารถทำได้หลายวิธี แล้วแต่ประเภทของความเสียหาย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1. ค่าเสียหายกรณีบาดเจ็บ

จะต้องนำสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้บาดเจ็บ ใบรับรองแพทย์ หนังสือรับรองการรักษาตัวผู้ป่วยใน ใบเสร็จจากทางโรงพยาบาล และใบบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวนหรือหลักฐานอื่นใดที่แสดงว่าผู้นั้นได้รับบาดเจ็บจากรถยนต์จริง ไปยื่นกับทางบริษัทประกันฯที่คุณซื้อพ.ร.บ. รถยนต์

2. ค่าเสียหายกรณีเสียชีวิต

จะต้องนำสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาบัตรประชาชนทายาท สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาใบมรณบัตร สำเนาบันทึกประจำวันพนักงานสอบสวนหรือหลักฐานที่แสดงว่าผู้ใช้รถยนต์ถึงแก่ความตายไปยื่นกับทางบริษัทประกันฯ ที่ทำพ.ร.บ. รถยนต์ ด้วย

พ.ร.บ. รถยนต์หมดอายุ ต้องทำยังไง

กรณีที่ พ.ร.บ. รถยนต์ของคุณหมดอายุ เพื่อนแท้เงินด่วนขอสรุปการต่ออายุได้ดังนี้

อายุของพ.ร.บ. รถยนต์

พ.ร.บ. รถยนต์จะมีอายุ 1 ปี ควรจะมีการต่อ พ.ร.บ. ทุกปีไม่ให้ขาด สามารถซื้อความคุ้มครองล่วงหน้าได้ไม่เกิน 90 วัน แต่ถ้าไม่ต่อมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

พ.ร.บ. หมดอายุเป็นเวลานาน

หากไม่มีการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ เป็นเวลานาน 3 ปี ติดต่อกัน จะทำให้เลขทะเบียนรถยนต์คันนั้นถูกระงับ คุณจะต้องไปที่กรมขนส่งทางบกเพื่อจดทะเบียนใหม่ และจะต้องชำระภาษีและค่าปรับย้อนหลัง 3 ปีนั้นด้วย ซึ่งจะคิดค่าปรับในอัตรา 1% ต่อปี จึงจะสามารถขับรถได้ตามที่กำหมายกำหนด

สรุป - พ.ร.บ.รถยนต์

หากคุณเป็นเจ้าของรถยนต์ สิ่งที่ควรทำก็คือ พ.ร.บ. และควรต่อทุกปีไม่ให้ขาด เพราะนอกจากจะช่วยคุ้มครองเราและคู่กรณีแล้ว ยังสามารถเรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมจากพ.ร.บ. รถยนต์ ได้อีกด้วย เพื่อให้ทุกการเดินทางของคุณไร้ความกังวลหากมีเหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้น

เพื่อนแท้ เงินด่วน

บทความยอดนิยม