คำเตือน! อย่าเคลือบโฉนดที่ดินจะถือเป็นกรณีชำรุด แนะนำวิธีเก็บรักษา

เคลือบโฉนดที่ดิน, โฉนดที่ดิน, ใบแทนโฉนดที่ดิน

โฉนดที่ดินมีค่าความสำคัญเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นเอกสารสิทธิที่มีผลทำให้หลายคนมองหาวิธีเพื่อการเก็บรักษา โดยการเคลือบพลาสติกเพื่อป้องกันการชำรุดหรือการสีจาง แต่การกระทำแบบนี้อาจทำให้โฉนดที่ดินเสียหายทันทีและปรากฏว่าไม่สามารถทำธุรกรรมทางที่ดินได้ นั้นเป็นเพราะเหตุใด? และหากเคลือบพลาสติกแข็งไปแล้ว ต้องการแก้ไขอย่างไร?

ทำไมถึงห้ามเคลือบโฉนดที่ดิน

การเคลือบโฉนดที่ดิน ทำให้ไม่สามารถระบุรายการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน เช่น การโอน หรือการจำนอง ในสารบัญจดทะเบียนด้านหลังโฉนดที่ดินได้ ถือเป็นกรณีที่เกิดความเสียหาย จึงจำเป็นต้องออกใบแทนโฉนดที่ดิน

อย่าเคลือบโฉนดที่ดิน

8 ม.ค. 2567 สำนักมาตรฐานการทะเบียนที่ดิน กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย ได้เตือนให้ปฏิบัติตามข้อแนะนำเกี่ยวกับการเคลือบโฉนดที่ดิน โดยการเคลือบจะทำให้ไม่สามารถพิมพ์รายการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน เช่น การโอน หรือการจำนอง ในสารบัญจดทะเบียนด้านหลังโฉนดที่ดินได้ ถือเป็นกรณีที่เกิดความเสียหาย จะต้องออกใบแทนโฉนดที่ดิน

ใบแทนโฉนดที่ดินที่เสียหาย พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถออกใบแทนได้โดยไม่ต้องประกาศ 30 วัน ด้านหน้าโฉนดที่ดินเหนือคำว่า “ใบแทน” ไว้ ใบแทนดังกล่าวจะได้รับสถานะเทียบเท่ากับโฉนดที่ดินเดิมทุกประการ

หากเคลือบโฉนดที่ดินไปแล้วแก้ยังไง

สามารถแก้ไขได้โดยการติดต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินเพื่อขอออกใบแทนใหม่โดยไม่จำเป็นต้องทำประกาศเช่นเดียวกัน บนด้านหน้าของโฉนดที่ดินจะมีคำว่า “ใบแทน” กำกับไว้ และใบแทนนั้นจะได้รับสถานะเทียบเท่ากับโฉนดที่ดินเดิมทุกรายละเอียด

หลักฐานประกอบการขอออกใบแทน

  1. กรณีโฉนดที่ดินชำรุด ถ้ามีหลักฐานตรวจสอบได้ คือ มีตำแหน่งที่ดิน เลขที่โฉนดที่ดิน ชื่อและตราประจำตำแหน่งของผู้ว่าราชการจังหวัดและ/หรือชื่อและตราประจำตำแหน่ง ของเจ้าพนักงานที่ดินตามลักษณะของแบบโฉนดที่ดิน
  2. กรณีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ชำรุด การตรวจสอบหลักฐานให้อนุโลมตามข้อ 1 กรณีตามข้อ 1 และข้อ 2 จะต้องมีหลักฐานประกอบ คือ
    • โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ชำรุด

    • บัตรประจำตัวผู้ขอ

    • ทะเบียนบ้าน

    • หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล (ถ้ามี)

  3. กรณีโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นอันตรายสูญหายหรือชำรุดไม่สามารถตรวจสอบ หลักฐานได้ นอกจากมีหลักฐานดังกล่าวข้างต้นแล้วจะต้องดำเนินการและมีหลักฐานดังนี้ด้วย

    • 3.1 ต้องนำพยานที่เชื่อถือได้และ/หรือรู้เห็นการสูญหายของโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์อย่างน้อย 2 คน ไปให้เจ้าหน้าที่สอบสวนและพยานต้องนำบัตรประจำตัวไปแสดงด้วย

    •  3.2 กรณีสูญหาย เนื่องจากการกระทำความผิดทางอาญาให้นำหลักฐานการแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนไปประกอบคำขอด้วย

    • 3.3 ถ้าเป็นกรณีศาลสั่งหรือเจ้าพนักงานตามกฎหมายขอให้ออกใบแทนให้นำคำสั่งหรือคำพิพากษาอันถึงที่สุด หรือหนังสือร้องขอไปด้วย

ขั้นตอนการขอออกใบแทน

  1. รับบัตรคิวจากประชาสัมพันธ์
  2. เจ้าหน้าที่รับคำขอและสอบสวน
  3. ตรวจสอบหลักฐาน ตรวจหนังสือมอบอำนาจ และพิจารณาสั่งการ
  4. ลงบัญชีรับทำการ
  5. ตรวจอายัด
  6. เขียนใบสั่ง ใบเสร็จและรับเงินค่าธรรมเนียมคำขอ
  7. พิมพ์ประกาศ กรณีโฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นอันตรายหรือสูญหาย
  8. เจ้าของที่ดินรับประกาศและนำเจ้าหน้าที่ไปปิดประกาศ
  9. ประกาศแจกที่ดินให้ปิดในที่เปิดเผย ณ สำนักงานที่ดินท้องที่ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ หรือที่ว่าการกิ่งอำเภอท้องที่ ที่ทำการแขวงหรือที่ทำการกำนันท้องที่และในบริเวณที่ดินนั้นแห่งละหนึ่งฉบับในเขตเทศบาลให้ปิดไว้ ณ สำนักงานเทศบาลอีกหนึ่งฉบับ
  1. ประกาศครบกำหนด 30 วัน ไม่มีผู้โต้แย้งคัดค้าน เบิกแบบพิมพ์ดำเนินการสร้างใบแทน
  2. เสนอเจ้าพนักงานที่ดินพิจารณาลงนามในใบแทน และแจ้งเจ้าของที่ดินมารับใบแทน
  3. แจกใบแทนให้เจ้าของที่ดิน

ค่าธรรมเนียมการออกใบแทน

  1. ค่าคำขอแปลงละ 5 บาท
  2. ค่าประกาศแปลงละ 10 บาท (กรณีที่ต้องมีการประกาศ)
  3. ค่าปิดประกาศให้แก่ผู้ปิดประกาศ แปลงละ 10 บาท
  4. ค่าออกใบแทนโฉนดที่ดินฉบับละ 50 บาท
  5. ค่าออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ฉบับละ 50 บาท
  6. ค่ามอบอำนาจ กรณีที่มีการมอบอำนาจ เรื่องละ 20 บาท
  7. ค่าอากรแสตมป์ปิดใบมอบอำนาจ ฉบับละ 30 บาท
  8. ค่าคำขอแปลงละ 5 บาท
  9. ค่าประกาศแปลงละ 10 บาท (กรณีที่ต้องมีการประกาศ)
  10. ค่าปิดประกาศให้แก่ผู้ปิดประกาศ แปลงละ 10 บาท
  11. ค่าออกใบแทนโฉนดที่ดินฉบับละ 50 บาท
  12. ค่าออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ฉบับละ 50 บาท
  13. ค่ามอบอำนาจ กรณีที่มีการมอบอำนาจ เรื่องละ 20 บาท
  14. ค่าอากรแสตมป์ปิดใบมอบอำนาจ ฉบับละ 30 บาท

คำแนะนำในการเก็บรักษาโฉนดที่ดิน

  1. ไม่ควรนำโฉนดที่ดินไปเคลือบ เนื่องจากหากมีความประสงค์จะทำนิติกรรมในโฉนดที่ดิน จะต้องเสียเวลาในการสร้างใบแทนโฉนดที่ดินขึ้นใหม่
  2. ควรหาซองพลาสติกมาใส่โฉนดที่ดินเพื่อป้องกันความเสียหายจากการชำรุด
  3. กรณีมีข้อสงสัย สามารถสอบถามไปยัง กรมที่ดิน หรือสำนักงานที่ดินทั่วประเทศ

สรุป - อย่าเคลือบโฉนดที่ดินด้วยพลาสติก

หากต้องการเก็บรักษาโฉนดที่ดินอย่างแท้จริง ควรใช้ซองพลาสติกเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดจากการชำรุด ควรหลีกเลี่ยงการพับ เนื่องจากรอยพับอาจทำให้โฉนดที่ดินเสียหายหรือฉีกขาดในภายหลัง ควรเก็บไว้ในที่แห้งเพื่อป้องกันความชื้น หากโฉนดที่ดินอยู่ในพื้นที่ชื้น อาจทำให้เกิดเชื้อรา กระดาษเป็นขุยและข้อความในโฉนดที่ดินอาจหลุดหายไปได้

เพื่อนแท้ เงินด่วน

บทความยอดนิยม